การประหยัดหมึกพิมพ์โดยลูกแม่พิมพ์กราเวียร์ที่ผลิตโดยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง โดย คุณสเตฟาน เบลเลนฮอฟ

Last updated: 14 ก.ย. 2563  |  4132 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การประหยัดหมึกพิมพ์โดยลูกแม่พิมพ์กราเวียร์ที่ผลิตโดยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง โดย คุณสเตฟาน เบลเลนฮอฟ

การประหยัดหมึกพิมพ์โดยลูกแม่พิมพ์กราเวียร์ที่ผลิตโดยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง โดย คุณสเตฟาน เบลเลนฮอฟ
 
ไม่มีอะไรใหม่เกี่ยวกับความต้องการในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแม่พิมพ์กราเวียร์มากกว่าแค่กระบวนการพิมพ์งานสอดสี เมื่อพูดถึงงานพิมพ์สีพื้นตายให้ได้ประสิทธิภาพของงานพิมพ์โดยเพิ่มความเร็วของการพิมพ์ให้สูงขึ้นหรือในการประหยัดหมึกพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิ่งที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต โดยแนวทางนี้มีมาช้านานแล้ว โดยพิจารณาจากขนาดรูปร่างของบ่อหมึกและหมึกพิมพ์ที่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมถูกนำมาใช้ในงานพิมพ์ฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชั้นนำเป็นต้นมาเป็นเวลาหลายปี สิ่งนี้เชื่อมต่อกับจุดมุ่งหมายในการใช้ปริมาณหมึกที่น้อยลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอบแห้งโดยปราศจากปัญหาแม้จะใช้ความเร็วสูงสุดในการพิมพ์ ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการใช้ปริมาณหมึกพิมพ์ให้น้อยลง

การผลิตแม่พิมพ์กราเวียร์โดยใช้น้ำยากรดกัดแบบดั้งเดิมเป็นตัวอย่างหนึ่งของความพิเศษเฉพาะ โดยทั่วไปแล้วการผสมผสานรูปทรงเรขาคณิตของบ่อหมึกที่ดีที่สุด และสูตรหมึกพิเศษสามารถทำได้ด้วยวิธีการเชิงประจักษ์เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่เหมาะสำหรับงานพิมพ์ส่วนใหญ่ที่มีศักยภาพในการใช้สีพื้นตายในบรรจุภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่น ยิ่งไปกว่านั้นการผสมประสานงานประเภทนี้ ส่วนใหญ่ที่ต้องมีประสบการณ์สูงและไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในยุคปัจจุบัน

การลดปริมาตรตามตัวอย่างของการผลิตแม่พิมพ์ฯด้วยเครื่องเจาะเข็มเพชร

ตัวอย่างที่เหมาะสมคือ การผลิตแม่พิมพ์ด้วยเข็มเพชร เนื่องจากเป็นกระบวนการผลิตที่เป็นการยอมรับและรู้จักกันดีที่สุดสำหรับการผลิตแม่พิมพ์กราเวียร์ โดยทั่วไปจะใช้การกำหนดขนาดเม็ดสกรีน 70/0/120° (70 เส้นต่อเซนติเมตร, มุมองศา 0, เข็มเพชร 120°) สำหรับสีพื้นตายโดยไม่มีข้อกำหนดพิเศษ หรือคุณภาพของงานลายเส้น หากต้องการลดปริมาณหมึกพิมพ์ หรือระดับการใช้หมึกลงโดยไม่ส่งผลเสียต่อความเรียบเนียนของงานพิมพ์ สามารถเปลี่ยนองศาเข็มเพชร และการกำหนดความละเอียดของเม็ดสกรีนได้อีกทางเลือกหนึ่งเช่น เข็มเพชร 130° หรือแม้แต่เข็มเพชร 140° ที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน สามารถใช้กับงานพิมพ์พื้นผิวอาลูมิเนียม (foil) ได้

ทางเลือกที่เป็นไปได้อาจใช้ขนาดเม็ดสกรีน 80 หรือ 100 เส้นต่อเซนติเมตร, องศา 0, เข็มเพชร 120° สิ่งนี้นำเสนอความเป็นไปได้มากมายในการส่งผ่านปริมาณหมึกพิมพ์ต่อตารางเมตร และเพื่อลดการใช้ปริมาณหมึกพิมพ์

อย่างไรก็ตามปัญหาอาจเกิดขึ้นกับสีที่มีความเข้มสูงมากๆ เนื่องจากขนาดของเม็ดสกรีนที่มีปริมาณการส่งผ่านปริมาณหมึกน้อยให้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมในกรณีที่มีเฉดสีอ่อน และมีสารเติมแต่งในสัดส่วนที่สูง อย่างไรก็ตามด้วยสีที่เข้มมากๆ ระดับปริมาณหมึกพิมพ์อาจต่ำเกินไป ซึ่งหมายความว่ามีสารเติมแต่งไม่เพียงพอสำหรับงานพิมพ์คุณภาพสูง หรือไม่สามารถแสดงความเข้มที่ถูกต้องของเฉดสีได้

ปรากฏการณ์นี้เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของภาพโทนต่อเนื่อง เนื่องจากภาพสกรีนที่ละเอียดกว่าและเข็มเพชรมุมกว้างกว่า มักทำให้หมึกพิมพ์แห้งเร็ว  หรือเกิดปัญหาการพิมพ์อื่นๆ จึงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้รับผิดชอบในงานพิมพ์บรรจุภัณฑ์ และแม้แต่ผู้ผลิตแม่พิมพ์กราเวียร์เองในการพิจารณาด้วยความมั่นใจว่าการกำหนดค่าใดดีที่สุดสำหรับงานพิมพ์ที่ประหยัดหมึกพิมพ์ ในขณะเดียวกันก็รับประกันคุณภาพการพิมพ์ที่ดีเยี่ยมตามที่ต้องการ

การผลิตแม่พิมพ์กราเวียร์โดยใช้น้ำยากรดกัดแบบดั้งเดิม หรือแบบใช้แสงเลเซอร์กัดโดยตรง ทำให้มีโอกาสมากขึ้นในกรณีนี้แม้ว่าจะใช้งานมาหลายปีแล้วก็ตาม ในทางตรงกันข้ามการใช้แสงเลเซอร์กัดโดยตรงบนผิวทองแดงเป็นกระบวนการล่าสุดสำหรับการผลิตแม่พิมพ์กราเวียร์ จึงเป็นจุดสำคัญของการทดสอบการพิมพ์ที่อธิบายไว้ด้านล่าง

แนวคิดเบื้องหลังชุดทดสอบ

ในนามของสถาบันการศึกษาของบริษัท Windmöller & Hölscher (W&H) Academy ร่วมกับบริษัท 4Packaging, บริษัท Siegwerk Druckfarben AG และวิทยากร Mr. Stefan Beilenhoff ได้จัดสัมมนา 5 วัน ในหัวข้อเรื่อง “ครั้งแรกที่ถูกต้องของประสิทธิภาพในการผลิตบรรจุภัณฑ์งานพิมพ์กราเวียร์” เป็นครั้งแรก ในศูนย์เทคนิคของ W&H เมื่อเดือนพฤษภาคม 2019 ในระหว่างการเตรียมการอย่างเข้มข้น ยังมีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการสร้างแม่แบบ และการทดสอบเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูง ความคิดเห็นของลูกค้าเกี่ยวกับการทำให้หมึกพิมพ์แห้งทันในการพิมพ์ความเร็วสูง และการประหยัดหมึกพิมพ์โดยใช้แม่พิมพ์กราเวียร์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง สิ่งนี้ทำให้เกิดแนวคิดในการทดสอบของลูกค้าในศูนย์เทคนิคของ W&H ในการทดสอบเบื้องต้น สำหรับการเปรียบเทียบเม็ดสกรีนภาพที่ได้รับการคัดเลือกจากการเจาะแม่พิมพ์ด้วยเข็มเพชร และการผลิตแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดตรงโดยเครื่อง Cellaxy ของ HELL Gravure Systems และตามด้วยการทดสอบในเชิงของปริมาณงานพิมพ์

การทดสอบเบื้องต้น

ก่อนการทดสอบในเชิงของปริมาณงานพิมพ์ บริษัท 4Packaging ได้ผลิตแม่พิมพ์โดยใช้เข็มเจาะ และผลิตแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง Cellaxy สำหรับการกำหนดขนาดเม็ดสกรีนที่หลากหลาย เม็ดสกรีนที่ผลิตโดยเข็มเพชรอยู่ในช่วง 60/0/120° ถึง 100/0/120° ในขณะที่เม็ดสกรีนที่ผลิตด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรงมีขนาดตั้งแต่ 70/2/25μm ถึง 100/0/11μm ในการประเมินคุณภาพงานพิมพ์สีพื้นตาย และงานสอดสีในองค์ประกอบส่วนต่างๆ

มีการตัดสินใจที่จะตรวจสอบ 2 เฉดสีที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงมีการเลือกใช้สีน้ำเงินอ่อน และสีแดงเข้ม โดยพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ทั้ง 2 ลูก เปรียบเทียบมาตราฐานค่า Delta E ที่ใช้เม็ดสกรีนของเข็มเพชรเป็นข้อมูลอ้างอิง และระบุเม็ดสกรีนด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรงเป็นการเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญอย่างมากกับคุณภาพการพิมพ์ในแง่ของความเรียบเนียนของภาพโทนต่อเนื่อง และคุณภาพของเม็ดสกรีนไล่โทน

ในกรณีที่มีสีแดงเข้มจะพบว่าการใช้เข็มเพชรขนาดเม็ดสกรีน 80/0/120° มีสีใกล้เคียงกับการใช้ขนาดเม็ดสกรีนโดยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง 70/2/15μm มากที่สุด ดังนั้นบริษัท 4Packaging แนะนำให้ใช้ขนาดเม็ดสกรีน 80/0/120° เนื่องจากพวกเขามีประสบการณ์ในเชิงบวกเกี่ยวกับความเรียบเนียนของเม็ดสกรีนเมื่อเทียบกับขนาดเม็ดสกรีน 70 เนื่องจากสีน้ำเงินอ่อน จะมีสารเติมแต่งในสัดส่วนที่สูงมาก จึงตัดสินใจที่จะไม่ใช้เม็ดสกรีนจากเข็มเพชรมาตรฐาน และเลือกขนาดเม็ดสกรีน 70/4/120° ให้เทียบเท่ากับขนาดเม็ดสกรีนของแสงเลเซอร์กัดโดยตรง 100/0/11μm เนื่องจากขนาดเม็ดสกรีน  70/4/120° มีปริมาตรการส่งผ่านน้อยกว่าขนาดเม็ดสกรีน   80/0/120° ถึงประมาณ 17.5% จึงเป็นความท้าทายเพิ่มเติมสำหรับการผลิตแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง

ด้านการปฏิบัติ - ดำเนินการทดสอบ

การทดสอบในเชิงของปริมาณงานพิมพ์ ได้ดำเนินการในศูนย์เทคนิคของบริษัท W&H ในเดือนตุลาคม 2019 แม่พิมพ์กราเวียร์จำนวน 4 ลูก ได้ถูกจัดเตรียมเพื่อจุดประสงค์นี้ โดยแม่พิมพ์ลูกแรก ได้ถูกจัดเตรียมโดยใช้เข็มเพชร และจัดเตรียมด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรงสำหรับสีแดงเข้มและสีฟ้าอ่อน โดยพิมพ์ครึ่งม้วนที่มีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 43%

ก่อนที่จะเริ่มทำการทดสอบในภาคปฏิบัติ จะมีการตรวจสอบความสามารถในการวัดของเครื่องชั่งที่จะใช้ และกำหนดความแม่นยำเป็น ± 5 กรัม โดยใช้น้ำหนักที่ทดสอบเทียบของกลุ่มต่างๆ การทดสอบการผสมหมึกพิมพ์โดยกำหนดความแม่นยำในการใช้สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ ± 25 กรัม เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดเช่น น้ำหนักที่แตกต่างกันในกระป๋องที่ใช้ หรือมีหมึกพิมพ์เหลืออยู่ในกระป๋องนั้น จะมีการชั่งน้ำหนักกระป๋องที่เกี่ยวข้องทุกครั้งที่เติมหน่วยการพิมพ์ และลดปริมาณการขาดหรือเติม โดยรวมแล้วเป็นไปได้ที่จะจำแนกความเบี่ยงเบนเหล่านี้ โดยสัมพันธ์กับปริมาณหมึกพิมพ์ทั้งหมดว่าไม่สำคัญในแง่ของผลลัพธ์ที่คาดหวัง

ขั้นตอนแรกเกี่ยวข้องกับการผสมเฉดสีเพื่อให้ได้สีแดงเข้มรวมถึงการชั่งน้ำหนัก และบันทึกส่วนประกอบของหมึกพิมพ์ที่เพิ่มเข้ามาอย่างแม่นยำ เมื่อตั้งค่าวัดความหนืดไว้ที่ 26 วินาที (โดยเครื่องวัดความหนืด Frikma 3 มม.) และตรวจสอบด้วยตนเองจะมีการปรับแต่งสีเป้าหมายครั้งสุดท้าย โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ของหน่วยวัดระบบ Delta E CIE <1 ความหนืดที่ค่อนข้างต่ำสำหรับสีพื้นตายคือ เลือกเพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพการพิมพ์สูงในองค์ประกอบรูปร่างของแบบทดสอบ

หลังจากที่หมึกพิมพ์ในเครื่องพิมพ์ทั้ง 2 หน่วยถูกตั้งค่าเป็นตำแหน่งสีที่ต้องการ และตรวจสอบความหนืดอีกครั้งของหมึกพิมพ์ทั้งหมด จะถูกระบายออกจากหน่วยการพิมพ์โดยการชั่งน้ำหนักและเติม การกำหนดปริมาตรหมึกพิมพ์ด้วยวิธีนี้ จะทำให้ปริมาตรเริ่มต้นที่แม่นยำในแต่ละกรณี ซึ่งไม่ผิดเพี้ยนจากการเติมน้ำยาทำละลายเมื่อแก้ไขความหนืด หรือปริมาณการใช้หมึกพิมพ์จากการจับคู่สี

สูตรสีต่อไปนี้ และปริมาณหมึกพิมพ์ทั้งหมดได้ถูกกำหนดสำหรับสีแดง ก่อนอื่นควรสังเกตว่าหมึกพิมพ์สำเร็จรูปถูกนำมาใช้สำหรับส่วนผสมที่มีสารเติมแต่งในสัดส่วนที่โดดเด่นอยู่แล้ว และเส้นสีแดงและโครงสร้างที่ผลิตได้อย่างสมบูรณ์แบบกับแม่พิมพ์ที่ใช้เครื่อง Cellaxy แม้ว่าจะมีสารเติมแต่งสำรองต่ำก็ตาม

สูตรของสีต่อไปนี้ และปริมาณหมึกทั้งหมดถูกใช้เป็นการทดสอบในเชิงของปริมาณงานพิมพ์ สำหรับสีน้ำเงินอ่อน

จากนั้นจะทำการทดสอบในเชิงของปริมาณงานพิมพ์บนฟิล์ม OPP ที่ใช้ความเร็ว 350 เมตร / นาที โดยการพิมพ์จะดำเนินไปจนกระทั่งระดับในหน่วยการพิมพ์ลดลงเหลือขีดจำกัดด้านเทคนิคที่ประมาณ 15 กิโลกรัมของหมึกพิมพ์

สำหรับการตรวจสอบความเสถียรของการผลิต ในภายหลังม้วนตัวอย่างจะถูกสร้างขึ้นทีละ 1,000 เมตร
 

ด้านการปฏิบัติ – การประเมินผล

ประหยัดหมึกอย่างมากในกรณีที่มีสีเข้ม

สำหรับสีแดงเข้ม มีการกำหนดปริมาณการใช้ 25.17 กิโลกรัม สำหรับการผลิตแม่พิมพ์ด้วยเข็มเพชรหลังจากสิ่งพิมพ์ผ่านไป 7,566 เมตร ที่ 18.39 กิโลกรัม สำหรับแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง Cellaxy ใช้น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งช่วยประหยัดหมึกพิมพ์ได้ถึง 26.9%

เนื่องจากส่วนประกอบของหมึกพิมพ์สำเร็จรูปมีราคาซื้อที่แตกต่างกันการประหยัดต้นทุนจึงต้องคำนวณแยกจากราคาทั่วไปของตลาดโลก ตัวอย่างเช่น การทดสอบเปรียบเทียบนี้แสดงให้เห็นถึงการประหยัดต้นทุนประมาณ 15.8% ตามสูตรหมึกพิมพ์ อิทธิพลของการใช้หมึกพิมพ์ในส่วนของส่วนประกอบหมึกแต่ละชิ้นในระหว่างการจับคู่ถือว่าน้อยที่สุด เนื่องจากการจับคู่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยต้องมีการแก้ไขหรือปริมาณงานพิมพ์เพียงเล็กน้อย

หากทำการทดสอบโดยใช้ขนาดเม็ดสกรีน 70/0/120° ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ค่าเหล่านี้น่าจะสูงกว่านี้มากเนื่องจากมีปริมาณการส่งผ่านสูงกว่าขนาดเม็ดสกรีน 80/0/120° ที่ใช้ประมาณ 14%

ประหยัดหมึกพิมพ์ได้มากขึ้นในกรณีที่มีสีอ่อนๆ

การทดสอบด้วยสีน้ำเงินอ่อน แสดงให้เห็นถึงการประหยัดหมึกพิมพ์ที่มากขึ้นด้วยเฉดสีที่อ่อนกว่า ซึ่งมีส่วนผสมของสารเติมแต่งในสัดส่วนที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น แม่พิมพ์ที่ใช้เข็มเจาะใช้หมึก 24.82 กิโลกรัม สำหรับปริมาณงานพิมพ์ที่ 10,625 เมตร ในขณะที่แม่พิมพ์เจาะด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง Cellaxy ใช้หมึกพิมพ์เพียง 13.35 กิโลกรัม เทียบเท่ากับการประหยัดหมึกพิมพ์ถึง 46.2% เนื่องจากทั้งสองสูตรไม่มีความแตกต่างกันอย่างมาก การประหยัดต้นทุนจะเป็นสัดส่วนเดียวกันโดยประมาณ 46.5%

ปริมาณการใช้หมึกพิมพ์ น้ำหนักการใช้งาน และปริมาณของงานพิมพ์พื้นตาย

การทดสอบในห้องปฏิบัติการในภายหลังของตัวอย่างงานพิมพ์และหมึกพิมพ์ให้รายละเอียดที่น่าสนใจเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น น้ำหนักของหมึกพิมพ์ในกรณีของลูกแม่พิมพ์ที่ใช้แสงเลเซอร์กัดโดยตรง Cellaxy จะต่ำกว่าเสมอ ซึ่งอธิบายถึงการใช้หมึกพิมพ์ที่น้อยลง อย่างไรก็ตามปริมาณองค์ประกอบของหมึกพิมพ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งคาดว่าจะเป็นไปตามสูตรหมึกพิมพ์ที่ระบุไว้ข้างต้นไม่ได้เชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับการประหยัดหมึกพิมพ์ ในทำนองเดียวกันไม่สามารถระบุการเชื่อมต่อเชิงตรงในความแตกต่างระหว่างปริมาณการใช้หมึกพิมพ์และน้ำหนักหมึกพิมพ์ของการใช้งาน

ดังนั้นต้องมีเหตุผลอื่นที่ทำให้ความเข้มของสีเท่ากันในขณะที่ใช้หมึกพิมพ์น้อยลง นอกเหนือจากการส่งผ่านหมึกพิมพ์เพียงอย่างเดียว และความเป็นไปได้ในการพิมพ์คุณภาพสูงด้วยการเพิ่มสารเติมแต่งที่น้อยกว่า

คุณภาพงานพิมพ์เป็นเหตุผลในการประหยัดหมึกพิมพ์

สิ่งที่เป็นหลักฐานได้ เมื่อใช้สีน้ำเงินอ่อนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากกว่าสีแดงเข้ม แม้มองด้วยตาเปล่าก็สามารถเห็นได้ว่างานพิมพ์จากแม่พิมพ์ที่ใช้แสงเลเซอร์ตรงมีความเรียบเนียนกว่าแม่พิมพ์ที่ใช้เข็มเพชร สิ่งนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นโดยใช้แว่นขยายภาพ และภาพจากกล้องจุลทรรศน์บ่งชี้ว่า ความเรียบเนียนของหมึกพิมพ์ในกรณีของการผลิตแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรงอาจเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ

ไม่มีพื้นที่โปร่งใสหรือมีสีเข้มน้อยซึ่งเรียกว่า "ตากบ" (รอยด่าง) ในรูปแบบความแตกต่างให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า หมึกพิมพ์ที่งานพิมพ์เป็นเนื้อเดียวกันและเรียบเนียนมากขึ้น ซึ่งสร้างผลิตแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง สามารถให้บริเวรของสี และความเข้มของสีได้เร็วขึ้น โดยใช้หมึกพิมพ์น้อยกว่าลูกแม่พิมพ์ที่ใช้เข็มเพชร

การทดสอบในเชิงของปริมาณงานพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์สีขาวบนฟิลม์ OPP แบบโปร่งใส

ผลลัพธ์ที่ได้จากงานพิมพ์สอดสี ทำให้เกิดความคิดที่ว่าการทดสอบเพิ่มเติมด้วยหมึกสีขาว สามารถให้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจมาก เนื่องจากหมึกสีขาวจะเป็นตัวเลือกที่มีแนวโน้มสำหรับการเปลี่ยนแปลงในแง่ของต้นทุนการผลิต และระดับความสิ้นเปลือง ทีมงานโครงการจึงตัดสินใจที่จะดำเนินการทดสอบต่อไป หลังจากทำการทดสอบปริมาณงานพิมพ์ด้วยหมึกสีขาว พบว่าแม่พิมพ์ที่ได้ทดสอบแล้วไม่เหมาะสำหรับวัตถุประสงค์นี้ ความลึกของบ่อที่ส่งมาจากขนาดเม็ดสกรีน 80 นั้นแย่เกินไป ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากหมึกพิมพ์ที่ใช้อยู่ในทีมงานของบริษัท W&H, บริษัท 4Packaging และ Mr. Stefan Beilenhoff ได้ร่วมกันตัดสินใจใช้แม่พิมพ์ใหม่อีก 2 ลูก โดยมีขนาดเม็ดสกรีน 70/0/120° ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานอุตสาหกรรมได้รับการคัดเลือกสำหรับการผลิตแม่พิมพ์โดยใช้เข็มเพชร และขนาดเม็ดสกรีน 70/1/20µm สำหรับการผลิตแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์ตรง

จากนั้นการทดสอบปริมาณงานพิมพ์จริง จะดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกันกับการทดสอบที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตามแทนที่จะเป็นความไม่ถูกต้องของสี จะมีการประเมินความหนาของบริเวณพื้นสีขาว เนื่องจากมีความแตกต่างเพียง 0.9% สำหรับการผลิตแม่พิมพ์โดยใช้เข็มเพชรจึงถือว่ามีค่าความหนาแน่นเท่ากัน

ในปริมาณงานพิมพ์ทั้งหมด 6,000 เมตรของแม่พิมพ์ที่ใช้เข็มเพชรจะใช้หมึกพิมพ์ 22.41 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าการใช้แม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโยตรง Cellaxy 18.4% ซึ่งต้องใช้หมึกพิมพ์เพียง 18.29 กิโลกรัม ในการทดสอบ โดยใช้หมึกพิมพ์เดียวกันในทั้งสองกรณี ผลประโยชน์ด้านต้นทุนลดลงเท่ากับ 18.4% ด้วยเหตุผลที่ให้ไว้จึงไม่ได้วัดปริมาณของหมึกพิมพ์ และน้ำหนักของหมึกพิมพ์การใช้งาน เนื่องจากการทดสอบด้วยการพิมพ์สอดสีได้แสดงให้เห็นแล้วว่าความเรียบเนียนมีอิทธิพลอย่างมากต่อการได้รับความเข้มของสี จึงมีเหตุผลที่จะตรวจสอบตัวอย่างงานพิมพ์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ในการทดสอบด้วยหมึกพิมพ์สีขาวสามารถระบุความแตกต่างที่ชัดเจนของความเรียบเนียนได้อีกครั้ง ในขณะที่การผลิตแม่พิมพ์โดยใช้เข็มเพชรมีลักษณะความหยาบและมีแนวโน้มไปทาง "ตากบ" (รอยด่าง) เล็กน้อย แต่การผลิตแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรงนั้นมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน และไม่มีที่ติ คุณภาพของงานพิมพ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเรียบเนียนของหมึกพิมพ์จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นเหตุผลว่าทำไมการผลิตแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง จึงต้องการน้ำหนักหมึกพิมพ์ในการใช้งานที่น้อยกว่าการผลิตแม่พิมพ์โดยใช้เข็มเพชร

บทสรุป

ชุดทดสอบแสดงให้เห็นว่าการผลิตแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง Cellaxy สามารถประหยัดหมึกได้มาก แม้ว่าการทดสอบพิมพ์งานสอดสีจะใช้การกำหนดขนาดเม็ดสกรีนที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตแม่พิมพ์โดยใช้เข็มเพชร แต่การผลิตแม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง สามารถให้ประโยชน์ด้านต้นทุนที่สำคัญคือประหยัดหมึก 26.9% และ 46.2% ตามลำดับ ในการทดสอบด้วยหมึกพิมพ์สีขาวโดยใช้แม่พิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง ช่วยประหยัดหมึกได้ถึง 18.4%

เมื่อมองในภาพรวมจะคุ้มค่าอย่างยิ่งกับการใช้แม่พิมพ์ที่ผลิตด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง Cellaxy สำหรับกรณีหมึกพิมพ์ราคาแพง ซึ่งคาดว่าจะมีการบริโภคสูง ประการแรกสิ่งนี้ใช้ได้กับหมึกสีขาว หมึกผสมโลหะเงิน ทอง และงานเคลือบพิเศษ โดยจะต้องได้รับการทดสอบให้เห็นถึงความประหยัด

ในกรณีของหมึกพิมพ์ที่ครอบคลุมพื้นที่สูง การใช้ลูกแม่พิมพ์ที่ผลิตด้วยแสงเลเซอร์กัดโดยตรง น่าจะคุ้มค่าในกรณีส่วนใหญ่เมื่อขนาดงานเหมาะสม อย่างไรก็ตามการชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสำหรับการใช้ลูกแม่พิมพ์โดยแสงเลเซอร์กัดโดยตรงถือเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญ และเฉพาะในกรณีพิเศษเท่านั้นที่ให้ความเรียบเนียนที่ดีขึ้น โดยโครงสร้างที่ใช้แสงเลเซอร์กัดโดยตรงบนผิวทองแดงจากมุมมองที่มีคุณภาพ

ประการสุดท้าย ควรกล่าวถึงว่าการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีนี้ในปริมาณมาก อาจเป็นไปไม่ได้ในขั้นเริ่มต้น เนื่องจากปริมาณงานที่ต้องการในตลาดอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการอื่น ๆ ในการผลิตงานพิมพ์ของระบบการพิมพ์กราเวียร์

สิ่งต่างๆส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนเดิม ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิต และโรงพิมพ์จะยังคงต้องร่วมกันพิจารณาว่าเทคโนโลยีการผลิตแม่พิมพ์กราเวียร์แบบใดที่ตรงกับจุดประสงค์ทางด้านคุณภาพ และต้นทุนของผู้ผลิตสำหรับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด

ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า การผลิตแม่พิมพ์ทองแดงโดยใช้แสงเลเซอร์กัดโดยตรง Cellaxy มีศักยภาพสูงกว่าทั้ง 2 ประการจากที่ได้กล่าวถึง ไม่ว่าลูกแม่พิมพ์ที่ผลิตโดยใช้แสงเลเซอร์กัดโดยตรง และกระบวนการของผู้ผลิตฯรายอื่นๆ จะมีศักยภาพเท่ากันหรือมากกว่านั้น ก็ต้องได้รับการชี้แจงในส่วนอื่นๆต่อไป

 

Powered by MakeWebEasy.com